- Beesanc
ศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมืองและแมลงผสมเกสร
เป็นส่วนที่บริหารจัดการและพัฒนาองค์ความรู้โดย แลปวิจัยผึ้งพื้นเมือง (Native Honeybee Research Laboratory) ซึ่งแลบวิจัยผึ้งพื้นเมืองได้เริ่มดำเนินการศึกษา และทำการวิจัยเรื่องผึ้งและการใช้ประโยชน์จากผึ้งพื้นเมืองเอเชีย มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 โดยมุ่งเน้นเพื่อศึกษาวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในด้านวิชาการที่ได้รับการยอมรับ มีการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ (International Journal) การตีพิมพ์หนังสือความรู้เรื่องผึ้งทั้งสำนักพิมพ์ในประเทศไทยและสำนักพิมพ์ต่างประเทศ (Textbook)
การสร้างเครือข่ายวิจัยภายในประเทศกว่า 25 หน่วยงาน และจากสถาบันวิจัยชั้นนำต่างประเทศกว่า 15 สถาบันจากกว่า 9 ประเทศ และเสนอผลงานวิจัยในงานประชุมวิชาการนานาชาติ (International Conferences) ส่งผลให้เกิดข้อมูลและความรู้ใหม่ๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่อง จึงได้นำข้อมูลและองค์ความรู้เหล่านี้ นำมาถ่ายทอดและจัดแสดงใน อุทยานการเรียนรู้เรื่องผึ้ง (Bee Park) มจธ.ราชบุรี
ปัจจุบันคลัสเตอร์วิจัยแลปวิจัยผึ้งพื้นเมือง (Native Honeybee Research Laboratory) มี รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี เป็นหัวหน้าแลป/คัสเตอร์ มุ่งเน้นศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพและการปรับตัวของผึ้งพื้นเมือง การใช้เทคโนโลยีทางด้านวิศวะนำพัฒนาเทคโนโลยีฉลาดที่ใช้ในฟาร์มผึ้ง (Smart farming) ซึ่งเป็นผลการทำงานร่วมกันของนักวิจัยจากหลากหลายความเชี่ยวชาญ เช่น ชีววิทยา เคมี คอมพิวเตอร์และวิศวกรรม ตลอดจนการประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
ค้นคว้าศึกษาวิจัยเพื่อใช้ผึ้ง (Honeybees) และชันโรง (Stingless bees) เป็นทูตธรรมชาติ (Nature Ambassadors) สร้างหย่อมสวรรค์ของผึ้ง (Bee Sanctuary) เพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศน์ สร้างสมดุลและความมั่นคงทางอาหารโลก และสร้างนวัตกรรมเพื่อยกระดับสร้างผลิตภัณฑ์ผึ้งมูลค่าสูง สู่การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
- วิจัยพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เชิงองค์รวม (Holism) การเป็นแมลงผสมเกสร (Pollination) และเพิ่มคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ด้านผึ้งและชันโรงเขตร้อน
- ประยุกต์ใช้องค์ความรู้ไปสู่การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และยกระดับห่วงโซ่มูลค่า
- ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ การปรับตัว และปัจจัยการยังชีพของผึ้งพื้นเมืองในประเทศไทยภายใต้การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และการพัฒนาระบบพืชอาหารผึ้ง เพื่อสร้าง หย่อมสวรรค์ของผึ้ง (Bee sanctuary) ซึ่งเป็นพื้นที่ปลอดภัยให้ผึ้งและชันโรง
- นำองค์ความรู้ที่วิจัยและพัฒนาขึ้นไปประยุกต์ใช้กับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สร้างระบบการใช้ประโยชน์เชิงองค์รวม เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาของประเทศ และยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ใช้ ให้มีคุณภาพมากขึ้น
- เพื่อเป็นศูนย์กลางในการวิจัยและผู้นำทางวิชาการด้านผึ้งและชันโรงในภูมิภาคเอเชีย
- เพื่อสร้างพื้นที่การเรียนรู้ด้านผึ้งและความหลากหลายทางธรรมชาติ “Beepark”
- Beesanc
พื้นที่โครงการ
น้ำผึ้ง BEESANC เป็นผลผลิตจากสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งด้วยวิถีธรรมชาติแบบปลอดสารพิษ ช่วยสร้างสมดุลให้แก่กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้ง และระบบนิเวศในระยะยาว เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์น้ำผึ้งคุณภาพระดับพรีเมี่ยมให้ได้เลือกสรรค์ เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในเครือข่ายแล็บวิจัยผึ้งพื้นเมือง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (ราชบุรี)
- ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
- อำเภอบ้านคาและอำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี
- กลุ่มหมู่บ้านระฆังทองตำบลเขาชะงุ้ม อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
- หมู่บ้านหนองไผ่ ตำบลปากบึง อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี
- ตำบลดอนกระต่าย อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
- อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
- อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- ตำบลช่องสาริกา จังหวัดลพบุรี
- สมาชิกสมาคมผู้เลี้ยงผึ้งไทย จังหวัดเชียงใหม่
- อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน
รศ.ดร.อรวรรณ ดวงภักดี
หัวหน้าศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมือง
และแมลงผสมเกสร (Bee Park)
อาจารย์ปรีชา รอดอิ่ม
อาจารย์ประจำศูนย์วิจัยผึ้งพื้นเมือง
และแมลงผสมเกสร (Bee Park)
- Beesanc